วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ระดับความรุนเเรงของพายุ

        การจัดระกับความรุนแรงของพายุนี้พัฒนาขึ้นในปี 1969 โดยเฮอร์เบิร์ต แซฟไฟร์ วิศวกรโยธา และบ็อบ ซิมป์สัน ผู้อำนวยการศูนย์เฮอร์ริเคนแห่งชาติสหรัฐฯ โดยแบ่งเป็น 5 ระดับด้วยกัน และระดับ 5 คือระดับสูงที่สุดด้วย
      การจัดระดับเฮอร์ริเคนตามความรุนแรงของแรงลมที่ก่อให้เกิดพายุ หรือที่เราเรียกว่า?“Saffir-Simpson Hurricane Scale”?การจัดระดับดังกล่าวถูกใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินความเสียหายและอุทกภัยที่จะเกิดขึ้นจากพายุเฮอร์ริเคนเมื่อพัดขึ้นสู่ชายฝั่ง โดยการจัดระดับนี้จะใช้กับเฮอร์ริเคนที่ก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติกและทางตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกเท่านั้น
  • ระดับความรุนแรงของพายุ?ระดับ F1
ความเร็วลม 119-153 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความสูงของคลื่น 1.2-1.5 เมตร ความกดอากาศ 980 มิลลิบาร์?อานุภาพในการทำลายล้าง เล็กน้อยไม่ส่งผลต่อสิ่งก่อสร้าง มีน้ำท่วมบ้างตามชายฝั่ง ท่าเรือเสียหายเล็กน้อย
  • ระดับความรุนแรงของพายุ?ระดับ F2
ความเร็วลม 154-177 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความสูงของคลื่น 1.8-2.4 เมตร ความกดอากาศ 965-979 มิลลิบาร์?อานุภาพในการทำลายล้าง น้อย หลังคา ประตู หน้าต่างบ้านเรือนมีเสียหายบ้าง ก่อให้เกิดน้ำท่วมทำลายท่าเรือ จนถึงอาจทำให้สมอเรือที่ไม่ได้ป้องกันไว้หลุดหรือขาดได้
  • ระดับความรุนแรงของพายุ?ระดับ F3
ความเร็วลม 178-209 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความสูงของคลื่น 2.7-3.7 เมตร ความกดอากาศ 945-964 มิลลิบาร์?อานุภาพในการทำลายล้าง ปานกลาง ทำลายโครงสร้างที่อยู่อาศัยขนาดเล็กได้บ้าง โทรศัพท์บ้านถูกตัดขาด แผงป้องกันพายุตามบ้านเรือนได้รับความเสียหาย อาจเกิดน้ำท่วมขังเข้ามาถึงพื้นดินส่วนใน
  • ระดับความรุนแรงของพายุ?ระดับ F4
ความเร็วลม 210-249 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความสูงของคลื่น 4.0-5.5 เมตร ความกดอากาศ 944-920 มิลลิบาร์?อานุภาพในการทำลายล้าง สูง แผงป้องกันพายุเสียหายหนักยิ่งขึ้น หลังคาบ้านเรือนบางแห่งถูกทำลาย น้ำท่วมเข้ามาถึงพื้นดินส่วนใน
  • ระดับความรุนแรงของพายุ?ระดับ F5
ความเร็วลม ไม่น้อยกว่า 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความสูงของคลื่นไม่น้อยกว่า 5.5 เมตร ความกดอากาศ น้อยกว่า 920 มิลลิบาร์?อานุภาพในการทำลายล้าง สูง หลังคาบ้านเรือนและโรงงานอุตสาหกรรมถูกทำลาย ตึกรามบางแห่งอาจถูกพัดถล่ม เกิดน้ำท่วมขังปริมาณมากถึงขั้นทำลายข้าวของในชั้นล่างของบ้านเรือนใกล้ชายฝั่ง และอาจต้องมีการประกาศให้ประชาชนในพื้นที่ทำการอพยพโดยด่วน

เพิ่มเติมเกร็ดความรู้?ระดับความรุนแรงของพายุ

  • พายุดีเปรสชั่นเขตร้อน (Tropical depression)
ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางไม่ถึง 34 นอต หรือ 63 กม./ชม.?มีลักษณะลมกรรโชกแรงเป็นครั้งคราว ซึ่งมีกำลังไม่แรงพอที่จะทำลายบ้านเรือนได้ ทำให้เกิดฝนตกในประเทศได้มาก แต่ถ้ามีพายุดีเปรสชั่นมากๆ ก็จะทำให้เกิดน้ำท่วมได้
  • พายุโซนร้อน (Tropical storm)?
ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง?34 นอต หรือ 63 กม./ชม.?ขึ้นไป?แต่ไม่ถึง 63 นอต หรือ 118 กม./ชม.?มีกำลังแรงพอที่จะทำลายบ้านเรือนที่มีโครงสร้างไม่แข็งแรงได้ รวมทั้งทำให้กิ่งไม้หักโค่น และทำให้เกิดน้ำท่วมได้ ฝนที่ตกอย่างหนักทั้งวันทั้งคืนอาจทำให้เกิดน้ำป่าและแผ่นดินถล่มได้
  • ไต้ฝุ่น (Typhoon)?
ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่?64 นอต หรือ 118 กม./ชม. ขึ้นไป?มีความรุนแรงมากที่สุด สามารถทำให้เกิดความเสียหายเช่นเดียวกับพายุโซนร้อนแต่มีความรุนแรงมากกว่า อาจทำให้เสาไฟฟ้าหักโค่น เกิดไฟฟ้าช็อตหรือเพลิงไหม้ได้ ในทะเลมีคลื่นลมแรงจัดมากเป็นอันตรายต่อการเดินเรือ โดยเฉพาะเรือเล็ก และอาจมีคลื่นใหญ่ซัดชายฝั่ง ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นมากจนท่วมอาคารบ้านเรือนริมทะเลได้
ส่วนการจำแนกระดับของทอร์นาโด จะยึดตาม Fujita scale ซึ่งกำหนดให้พายุในแต่ละระดับมีความแรงแบ่งออกเป็นรายระดับตามกำลังทำลายและความเร็วลม โดยแบ่งเป็น F0 – F5 โดย F0 เป็นทอร์นาโดที่อ่อนกำลังสุด และ F5 เป็นทอร์นาโดที่กำลังแรงสุด
  • พายุ F0 ความเร็วลม 64-116 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • พายุ F1 ความเร็วลม 117-180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • พายุ F2 ความเร็วลม 181-253 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • พายุ F3 ความเร็วลม 254-332 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • พายุ F4 ความเร็วลม 333-418 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • พายุ F5 ความเร็วลม 419-512 กิโลเมตรต่อชั่วโมง


 
อ้างอึงถึง http://teen.mthai.com/variety/64742.html

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ชนิดของพายุ

                                     พายุฝนฟ้าคะนอง


       พายุฝนฟ้าคะนอง หมายถึง อากาศที่มีฝนตกหนัก มีฟ้าแลบฟ้าร้อง เป็นฝนที่เกิดจากการพาความร้อน มีลมพัดแรง เกิดอย่างกระทันหันและยุติลงทันทีทันใด พายุฝนฟ้าคะนองเกิดจากการที่อากาศได้รับความร้อนและลอยตัวสูงขึ้นและมีไอน้ำในปริมาณมากพอ ประกอบกับการลดลงของอุณหภูมิ จึงเกิดการกลั่นตัวควบแน่นของไอน้ำ และเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง พายุฝนฟ้าคะนองประกอบด้วยเซลล์อากาศจำนวนมาก ในแต่ละเซลล์จะมีอากาศไหลขึ้นและลงหมุนเวียนกัน พายุฝนฟ้าคะนองเกิดมากในเขตร้อน เนื่องจากอากาศชื้นมากและมีอุณหภูมิสูง ทำให้มีสภาวะอากาศไม่ทรงตัว พายุฝนฟ้าคะนองมักเกิดจากเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) อย่างไรก็ตามการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองดังกล่าวหากมีศูนย์กลางพายุหลายศูนย์กลางจะทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองยาวนานมาก และเกิดกระแสอากาศที่รุนแรงมากจนสามารถทำให้เกิดลูกเห็บได้ ช่วงเวลาของการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง พายุฝนฟ้าคะนองพายุฝนฟ้าคะนองมีหลายชนิด ได้แก่ พายุฝนฟ้าคะนองพาความร้อน (Convectional Thunderstorm) เป็นพายุฝนที่เกิดจากการพาความร้อน ซึ่งมวลอากาศอุ่นลอยตัวสูงขึ้นทำ ให้อุณหภูมิของอากาศเย็นลง ไอน้ำจะกลั่นตัวกลายเป็นเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) และเกิดเป็นพายุฝนฟ้าคะนอง มักเกิดเนื่องจากโลกได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ ทำให้พื้นดินร้อนขึ้นมาก อากาศบริเวณพื้นดินจะลอยสูงขึ้นเกิดเป็นเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) มักเกิดในช่วงบ่ายและเย็นในวันที่อากาศร้อนจัด พายุฝนฟ้าคะนองภูเขา (Orographic Thunderstorm) เกิดจากการที่มวลอากาศอุ่นเคลื่อนที่ไปปะทะกับภูเขา ขณะที่มวลอากาศ เคลื่อนที่ไปตามลาดเขาอากาศจะเย็นตัวลง ไอน้ำกลั่นตัวกลายเป็นเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) ทำให้เกิดลักษณะของฝนปะทะหน้าเขา พายุลักษณะนี้จะเกิดบริเวณต้นลมของภูเขา เมฆจะก่อตัวในแนวตั้งสูงมาก ทำให้ลักษณะอากาศแปรปรวนมาก พายุฝนฟ้าคะนองแนวปะทะ (Frontal Thunderstorm) เกิดจากการปะทะกันของมวลอากาศ มักเกิดจากการปะทะของมวลอากาศ เย็นมากกว่ามวลอากาศอุ่น มวลอากาศอุ่นจะถูกดันให้ยกตัวลอยสูงขึ้น ไอน้ำกลั่นตัวกลายเป็นเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) และเกิดเป็นพายุฝนฟ้าคะนองแนวปะทะ
        พายุฝนฟ้าคะนอง (Thunderstorm) เกิดจากเมฆที่ก่อตัวขึ้นในแนวดิ่งขนาดใหญ่ที่เรียกว่า เมมคิวมูโลนิมบัส  (Cumulonimbus) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดสภาพอากาศรุนแรง เช่น ลมกระโชก ฟ้าแลบ และฟ้าผ่า ฝนตกหนัก อากาศปั่นป่วนรุนแรงทำให้มีลูกเห็บตก และอาจเกิดน้ำแข็งเกาะจับเครื่องบินที่บินอยู่ในระดับสูง  การเกิดพายุฝนฟ้าคะนองมีลำดับ 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นก่อตัว ขั้นเจริญเต็มที่ และขั้นสลายตัว ดังที่แสดงในภาพที่ 1



ภาพที่ 1 ขั้นตอนการเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง

  • ขั้นก่อตัว (Cumulus stage)
            เมื่อกลุ่มอากาศร้อนลอยตัวขึ้นสู่บรรยากาศ พร้อมกับการมีแรงมากระทำหรือผลักดันให้มวลอากาศยกตัวขึ้นไปสู่ความสูงระดับหนึ่ง โดยมวลอากาศจะเย็นลงเมื่อลอยสูงขึ้นและควบแน่นเป็นละอองน้ำเล็ก ๆ เป็นการก่อตัวของเมมคิวมูลัส ในขณะที่ความร้อนแฝงจากการกลั่นตัว ของไอน้ำจะช่วยให้อัตราการลอยตัว ของกระแสอากาศภายในก้อนเมฆเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุให้ขนาดของเมฆคิวมูลัสมีขนาดใหญ่ขึ้น และยอดเมฆสูงเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จนเคลื่อนที่ขึ้นถึงระดับบนสุดแล้ว (จุดอิ่มตัว) จนพัฒนามาเป็นเมฆคิวมูโลนิมบัส  เราเรียกกระแสอากาศที่ไหลขึ้นว่า "อัพดราฟต์" (Updraft) 

  • ขั้นเจริญเต็มที่ (Mature stage)
            เป็นช่วงที่กระแสอากาศมีทั้งไหลขึ้นและไหลลง ปริมาณความร้อนแฝงที่เกิดขึ้นจากการควบแน่นลดน้อยลง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่หยาดน้ำฟ้าที่ตกลงมามีอุณหภูมิต่ำ ช่วยทำให้อุณหภูมิของกลุ่มอากาศเย็นกว่าอากาศแวดล้อม ดังนั้นอัตราการเคลื่อนที่ลงของกระแสอากาศจะมีค่าเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ กระแสอากาศที่เคลื่อนที่ลงมาซึ่งเรียกว่า "ดาวน์ดราฟต์" (Downdraft) จะแผ่ขยายตัวออกด้านข้าง ก่อให้เกิดลมกระโชกรุนแรง อุณหภูมิจะลดลงและความกดอากาศจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แผ่ออกไปไกลถึง 60 กิโลเมตรได้ โดยเฉพาะส่วนที่อยู่ด้านหน้าของทิศทางการเคลื่อนที่ของพายุ  นอกจากนั้นกระแสอากาศเคลื่อนที่ขึ้นและลงจะก่อให้เกิดลมเฉือน (Wind shear) ซึ่งจะก่อให้เกิดอ้นตรายต่อเครื่องบินที่กำลังจะขึ้นและร่อนลงสนามบินเป็นอย่างยิ่ง

  • ขั้นสลายตัว
            เป็นระยะที่พายุฝนฟ้าคะนองมีกระแสอากาศเคลื่อนที่ลงเพียงอย่างเดียว หยาดน้ำฟ้าตกลงมาอย่างรวดเร็วและหมดไป พร้อม ๆ กับกระแสอากาศที่ไหลลงก็จะเบาบางลง



ภาพที่ 2 พายุฝนฟ้าคะนอง


        การเกิดพายุฝนฟ้าคะนองในแต่ละครั้ง จะกินเวลานานประมาณ 2 - 4 ชั่วโมง ซึ่งพอจะลำดับเหตุการณ์ได้ดังนี้ 
  1. อากาศร้อนอบอ้าว เนื่องจากมวลอากาศร้อนยกตัวลอยขึ้น เมื่อปะทะกับอากาศเย็นด้านบนแล้วควบแน่นกลายเป็นละอองน้ำในเมฆ และคลายความร้อนออกมาในรูปของรังสีอินฟราเรด 
  2. ท้องฟ้ามืดมัว อากาศเย็น เนื่องจากการก่อตัวของเมฆคิวมูโลนิมบัสมีขนาดใหญ่มากจนบดบังแสงอาทิตย์  ทำให้อุณหภูมิพื้นผิวลดต่ำลง 
  3. กระแสลมกรรโชกและมีกลิ่นดิน เกิดขึ้นเนื่องจากดาวน์ดราฟต์ (Downdraft) ภายในเมฆคิวมูโลนิมบัสเป่าลงมากระแทกพื้นดินและกลายเป็นลมเฉือน (Wind shear) 
  4. ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า ฟ้าร้อง เนื่องจากกระแสลมพัดขึ้นและลง (Updraft และ Downdraft) ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำของประจุไฟฟ้าในก้อนเมฆและบนพื้นดิน  
  5. ฝนตกหนัก เกิดจากการสลายตัวของก้อนเมฆเปลี่ยนเป็นหยาดน้ำฟ้าตกลงมาฝน และในบางครั้งมีลูกเห็บตกลงมาด้วย
  6. รุ้งกินน้ำ เกิดจากละอองน้ำซึ่งยังตกค้างอยู่ในอากาศหลังฝนหยุด หักเหแสงอาทิตย์ทำให้เกิดสเปกตรัม  




พายุหมุนเขตร้อน


          พายุหมุนเขตร้อน , พายุหมุน หรือพายุไซโคลน เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่สามารถทำความเสียหายได้รุนแรง และเป็นบริเวณกว้างมีลักษณะเด่น คือ มีศูนย์กลางหรือที่เรียกว่า ตาพายุ เป็นบริเวณที่มีลมสงบ อากาศโปร่งใส โดยอาจมีเมฆและฝนบ้างเล็กน้อยล้อมรอบด้วยพื้นที่บริเวณกว้างรัศมีหลายร้อยกิโลเมตร ซึ่งปรากฏฝนตกหนักและพายุลมแรง ลมแรงพัดเวียนเข้าหาศูนย์กลาง ดังนั้น ในบริเวณที่พายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนที่ผ่าน ครั้งแรกจะปรากฏลักษณะอากาศโปร่งใส เมื่อด้านหน้าของพายุหมุนเขตร้อนมาถึงจะ ปรากฏลมแรง ฝนตกหนักและมีพายุฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและอาจปรากฏพายุทอร์นาโด ในขณะตาพายุมาถึง อากาศจะโปร่งใสอีกครั้ง และเมื่อด้านหลังของพายุหมุนมาถึงอากาศจะเลวร้ายลงอีกครั้งและรุนแรงกว่าครั้งแรก

 2.1 พายุเฮอริเคน


สาเหตุการเกิดพายุเฮอริเคน

น้ำอุ่นเจอกับอากาศที่เคลื่อนที่                                                                                          
พายุเฮอริเคนในมหาสมุทรแอตแลนติกเกิดจากน้ำทะเลระเหยขึ้นไปในอากาศกลาย เป็นไอน้ำหรืออากาศชื้นที่ มีความอุ่น และไปรวมตัวกับคลื่นอากาศที่ถูกพัดพามาจาก ทางแอฟริกา
รวมตัวเป็นพายุโซนร้อน (tropical storm)   อากาศชื้นลอยตัวขึ้นสูงและมีอุณหภูมิต่ำลง ควบแน่นกลาย เป็นเมฆฝน(thunder cloud)
จากพายุกลายมาเป็นเฮอริเคน
  ลมที่มีกำลังแรงจัดและการหมุนรอบตัวเองรอบแกนของโลก ทำให้เมฆฝนคล้ายกับล้อรถเมื่อลมมีความเร็วถึง 74 ไมล์ต่อชั่วโมง ก็กลายเป็นเฮอริเคน ทำให้เมืองที่อยู่ ตามชายฝั่ง เช่น  นิวออลีนส์ ถูกโจมตีจนเกิดน้ำท่วม
การหมุนของเฮอริเคน   
   พายุเฮอริเคนจะหมุนทวนเข็มนาฬิกา และขณะที่มันหมุนจะดูดรับความชื้นในทะเล และ ไอน้ำเข้าไปเป็น ปริมาณถึง 200,000 ตัน
เฮอริเคนโจมตีทวีป 
   พายุเข้าโจมตีภาคพื้นทวีปด้วยความเร็ว 12 ไมล์ต่อชั่วโมง ถ้ามันขึ้นมาถึงบริเวณที่เป็นน้ำตื้นจะเกิดเป็นคลื่น
ลูกใหญ่ขนาดมหึมาเข้าโจมตีชายฝั่ง
พายุอ่อนกำลังลง 
    เมื่อพายุเฮอริเคนมาเจอกับความชื้นและอากาศอุ่นของทะเลพายุจะอ่อนกำลังลง และ สิ้นฤทธิ์ภายใน 2-3 วัน




3.2 อธิบายลักษณะและคุณสมบัติต่างๆ ของไต้ฝุ่นได้เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้ 
๑. พายุไต้ฝุ่น คือพายุโซนร้อน ซึ่งเกิดในมหาสมุทรหรือทะเลในโซนร้อนและมีลมพัดรอบศูนย์กลางอย่างน้อยด้วยความ
เร็ว ๑๑๘ กิโลเมตรต่อชั่วโมง (อาจจะถึง ๓๐๐กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้)
๒. พายุไต้ฝุ่น เป็นบริเวณความกดต่ำ ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางเป็นร้อยๆ กิโลเมตรจนถึงประมาณ ๑,๖๐๐ กิโลเมตร หรือกว่านั้น และมีอายุอยู่ได้หลายๆ วัน ลมของพายุนี้พัดรอบๆ ศูนย์กลางและลอยตัวขึ้นคล้ายบันไดวน
๓. คุณสมบัติที่สำคัญและน่าสนใจอย่างหนึ่งของพายุนี้ก็คือ ที่บริเวณศูนย์กลางของพายุเราเรียกว่า "ตา" ของไต้ฝุ่น ตาเป็นบริเวณเล็กๆ ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ๑๐ ถึง ๕๐ กิโลเมตร ในบริเวณตาของไต้ฝุ่นจะมีอากาศค่อนข้างดี ลมพัดค่อนข้างเบา
๔. พายุไต้ฝุ่น มีพลังงานมากมายมหาศาล ในวันหนึ่งสามารถผลิตพลังงานได้เท่ากับลูกระเบิดไฮโดรเจนขนาด ๑ ล้านตัน ที เอ็น ที ได้มากว่า ๑๐,๐๐๐ ลูก ไต้ฝุ่นได้รับพลังงานมหึมาจากพลังงานความร้อนแฝง ซึ่งไอน้ำในทะเลกลั่นตัวเป็นน้ำ
๕. ในละติจูดต่ำๆ ไต้ฝุ่นจะเคลื่อนตัวตามกระแสลมส่วนใหญ่จากทิศตะวันออก มาทางทิศตะวันตก และค่อยโค้งขึ้นไปทางละติจูดสูง แล้วเวียนโค้งกลับไปทางทิศตะวันออกอีก
๖. เมื่อไต้ฝุ่นเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นดิน ภูเขา หรือมวลอากาศเย็น ทำให้พลังงานของไต้ฝุ่นค่อยๆ สลายตัวลงอย่างรวดเร็ว กลายเป็นพายุโซนร้อนหรือดีเปรสชั่น
๗. อันตรายจากพายุไต้ฝุ่น มีหลายอย่าง เช่น ฝนตกหนัก ลมแรง พายุฟ้าคะนอง คลื่นจัด และอุทกภัย (ซึ่งมักจะทำให้มีผู้คนเสียชีวิตได้มาก) ฝนอาจจะตกได้กว่า ๑,๘๐๐ มิลลิเมตรในระยะเวลา ๒๔ ชั่วโมง พายุโซนร้อนซึ่งพัดเข้าแหลมตะลุมพุกจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ทำให้คนเสียชีวิตประมาณ ๑,๐๐๐คน และสูญเสียทรัพย์สมบัติหลายร้อยล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุเนื่องจากน้ำทะเลท่วม 
เมื่อวันที่ ๑๒ ถึง ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๓ พายุไซโคลนในมหาสมุทรอินเดียเคลื่อนตัวผ่านบริเวณแม่น้ำคงคาและพรหมบุตร (Ganges- Brahmaputra) ประเทศบังคลาเทศพายุไซโคลนลูกนี้มีความรุนแรงมาก มีอิทธิพลกระทบกระเทือน ต่อประชาชนกว่า ๓ ล้านคนในเนื้อที่กว่า ๗,๕๐๐ ตารางกิโลเมตร มีผู้เสียชีวิตประมาณ ๒๕๐,๐๐๐ คน ส่วนอันตรายอย่างอื่น เช่น อดตายหรือโรคระบาดนั้นตามมาภายหลังอีกมากมายหลายอย่างฉะนั้นเมื่อพายุไซโคลนในโซนร้อนอยู่ที่ไหน จึงควรจะอยู่ห่างจากที่นั้นเพื่อความปลอดภัยของตัวเอง จงอย่าอยู่ในที่ลุ่มหรือที่ต่ำเป็นอันขาด 
๘.เราสามารถจะกำหนดที่อยู่ของพายุไต้ฝุ่นได้ โดยการวัดความกด ตรวจดู
ลักษณะอากาศ ทิศ และความเร็วลม การหาที่อยู่ของไต้ฝุ่นอาจสำรวจได้จากเครื่องมือหลายอย่าง เช่น
-สถานีตรวจอากาศตามเกาะหรือในทะเล
-เครื่องบินตรวจอากาศ
-เรดาร์
-ดาวเทียมตรวจอากาศ
๙.ในปัจจุบันนี้ โดยที่ระบบโทรคมนาคมของการสื่อสารมวลชนดีขึ้นมาก ประชาชนสามารถจะทราบคำเตือนเรื่องพายุไต้ฝุ่นได้อย่างรวดเร็ว จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่ประชาชนควรระมัดระวังในเมื่อได้รับคำเตือนเรื่องพายุร้ายแรงและอันตรายจากพายุไต้ฝุ่น เรือในทะเลควรจะหลบหนีออกไปจากบริเวณไต้ฝุ่น เรือในทะเลควรจะหลบหนีออกไปจากบริเวณไต้ฝุ่น 

ไซโคลน(Cyclone) หมุนตัวทวนเข็มนาฬิกาเข้าสู่ศูนย์กลาง และมวลอากาศรอบ หย่อมความกดอากาศสูง (H) “แอนติไซโคลน” (Anticyclone) หมุนตัวตามเข็มนาฬิกาออกจากศูนย์กลางในบริเวณซีกโลกใต้ และ “แอนติไซโคลน” จะหมุนตัวทวน เข็มนาฬิกาตรงกันข้ามกับซีกโลกเหนือ




พายุโซนร้อน (Tropical Storm) เป็นพายุที่มีขนาดความแรงขแงลมปานกลาง กล่าวคือมีความเร็วอยู่ระหว่าง 34-63 นอต หรือ 63-117 กิโลเมตร/ชั่วโมง พายุโซนร้อนเป็นพายุที่มีความแรงน้อยกว่าพายุไต้ฝุ่น (118 กิโลเมตร/ชั่วโมงขึ้นไป) แต่สูงกว่าพายุดีเปรสชัน (ต่ำกว่า 63 กิโลเมตร/ชั่วโมง) โดยที่พายุโซนร้อนไม่ถือว่าเป็นพายุหมุน
พายุโซนร้อนเป็นพายุที่เกิดขึ้นได้บ่อยและเกิดขึ้นได้ทั่วโลก โดยสามารถเกิดขึ้นจากการทวีความแรงขึ้นของพายุดีเปรสชันหรือการอ่อนตัวของพายุไต้ฝุ่น อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยพายุประเภทนี้ถ้าเกิดขึ้นใกล้ชายฝั่งก็มักจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันก่อนจะสลายตัวไปในที่สุด แต่ถ้าเกิดในทะเลลึกที่ห่างไกลชายฝั่งก็มักจะทวีความรุนแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นในที่สุด
พายุโซนร้อสามารถทำให้เกิดฝนตกหนักและเกิดในวงกว้าง สามารถส่งผลให้เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง ต้นไม้ใหญ่หักโค่น ถนนหนทางเสียหายและแผ่นดินสไลด์ตัวได้

หมายเหตุ เมื่อพายุโซนร้อนทวีความรุนแรงหรือความเร็วของลมที่ศูนย์กลางมากกว่า 117 กิโลเมตร/ชั่วโมง ก็จะกลายสภาพเป็นพายุหมุนที่มีความรุนแรงสูงสุดที่เรารู้จักกันในชื่อพายุไต้ฝุ่น พายุไซโคลน หรือพายุเฮอร์ริเคน แล้วแต่สถานที่เกิด กล่าวคือถ้าเกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิคทางเหนือหรือในทะเลจีนไต้ จะเรียกว่าพายุไต้ฝุ่น ถ้าเกิดขึ้นในมหาสมุทรอินเดียจะเรียกว่าพายุไซโคลน และถ้าเกิดในอ่าวเม็กซิโกหรือแถบอเมริกาเหนือจะเรียกว่าพายุเฮอร์ริเคน

 

พายุทอร์นาโด (tornado) หรือ ลมงวง เป็นพายุหมุนที่มีอำนาจในการทำลายล้างอย่างรุนแรงที่สุดในจำพวกปรากฏการณ์ธรรมชาติประเภทพายุ เกิดจากการหมุนเวียนของอากาศภายใต้ฐานเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) หรือเมฆฟ้าคะนอง ซึ่งมีรูปลักษณะคล้ายภูเขา และเป็นเมฆที่แสดงถึงสภาวะอากาศที่ไม่ดีทำให้เกิดฝนฟ้าคะนองก่อนเกิดพายุทอร์นาโด ฐานเมฆดังกล่าวจะย้อยตัวลงมาจนแลดูคล้ายงวงหรือรูปกรวย (funnel cloud) และเคลื่อนไหวในลักษณะเป็นวงที่บิดเป็นเกลียว มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 200 - 300 หลา ความเร็วลมที่ศูนย์กลางประมาณ 100 - 300 ไมล์ต่อชั่วโมง พายุหมุนนี้จะเคลื่อนที่ไปในทางเดียวกับเมฆเบื้องบน โดยมีความเร็วประมาณ 20 - 40 ไมล์ต่อชั่วโมง

              ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่ได้รับความเสียหายจากพายุทอร์นาโดมากที่สุด โดยเฉพาะใน
สหรัฐอเมริกานั้น ในปีหนึ่งๆ จะเกิดพายุทอร์นาโด โดยเฉลี่ยถึง 770 ครั้ง และมักจะเกิดในบริเวณที่ราบเท็กซัส แพนแฮนเดิล เฉียงขึ้นไปทางตอนเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐโอกลาโฮมา แคนซัส มิสซูรี เนบราสกา ทางตอนใต้ของรัฐอิลลินอยส์ และสิ้นสุดทางตอนเหนือของรัฐไอโอว่า บริเวณดังกล่าวจะเกิดพายุหมุนทอร์นาโด ขึ้นประจำในระหว่างเดือนมีนาคม - มิถุนายน จนได้ชื่อว่าเป็น "ช่องทางทอร์นาโด" (Tornado Alley)

สาเหตุการเกิดพายุทอร์นาโด
              

         พายุทอร์นาโดมักเกิดในบริเวณที่มวลอากาศซึ่งมีอุณหภูมิและความชื้นต่างกันมาพบกัน ยิ่งอุณหภูมิและความชื้นต่างกันมากเท่าใด การปะทะกันก็จะรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น เนื่องจากมวลอากาศต้องปรับภาวะให้เกิดความสมดุล บริเวณ "ช่องทางทอร์นาโด" จึงเป็นพื้นที่ที่มีการปะทะกันของมวลอากาศอย่างรุนแรงที่สุด โดยมีกระแสลมเย็นแห้งจาก ทิศตะวันตกพัดผ่านมาสู่ทิศตะวันออก ขณะเดียวกันอากาศอบอุ่นชื้นจากอ่าวเม็กซิโกพัดผ่านขึ้นไปทางเหนือ เมื่อมาพบกันอากาศอบอุ่นชื้นจะลอยตัวสูงขึ้น อากาศเย็นแห้งจะลอยตัวต่ำลง ทำให้เกิดมีเมฆปกคลุมไปทั่วบริเวณ และถ้าความชื้นในอากาศมีมากเพียงพอก็จะทำให้เกิดฝนตกหรือมีพายุฟ้าคะนอง (thunderstrom)   โดยทั่วไป พายุทอร์นาโดมักเกิดขึ้นขณะที่มีพายุฟ้าคะนอง โดย มีสาเหตุเนื่องมาจากอากาศเย็นแห้งชั้นบนมีความอบอุ่นเพียงพอ จึงไม่ลอยตัวต่ำลงมา ขณะเดียวกันอากาศร้อนเบื้องล่างก็ไม่สามารถลอยตัวทะลุผ่านขึ้นไปได้ จึงเหมือนถูกอัดอยู่ในขวด เมื่อสภาพอากาศข้างบน เกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่อใด อากาศอบอุ่นชื้นเบื้องล่างก็จะมีแรงดันอัดขึ้นสู่ข้างบนกลายเป็นพายุหมุน ทอร์นาโด

การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ
การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศชั้นบน อันเป็นสาเหตุให้เกิด พายุทอร์นาโดนั้น เนื่องมาจาก

               1. การควบแน่นของไอน้ำจากอากาศเบื้องล่าง ทำให้อากาศที่ลอยตัวอยู่อุ่นขึ้น เมื่อกระทบกับอากาศเย็นข้างบน ก็จะเกิดเมฆ และมีความชื้นเพิ่มขึ้น อากาศร้อนเบื้องล่างจึงหนุนเนื่องดันทะลุชั้นอากาศเย็นข้างบนออกไปโดยฉับพลัน

              
 2. การคายความร้อนของพื้นดิน เมื่อพื้นดินคายความร้อนที่ ได้รับจากแสงอาทิตย์มาตลอดทั้งวัน อากาศร้อนชื้นเบื้องล่างจะดูดซับ ความร้อนนั้น ทำให้มีแรงดันเพิ่มขึ้นฝ่าอากาศเย็นชั้นบนขึ้นไปได้ พายุหมุนทอร์นาโดประเภทนี้ มักเกิดในช่วงเวลา 6 โมงเย็น จึงเรียกว่าอาถรรพณ์ 6 โมงเย็น (six o’clock magic)


               3. การเปลี่ยนแปลงของความเร็วลมในทิศทางและที่ระยะความสูงต่างๆ (windshear) ความแตกต่างของความเร็วลม และทิศทางที่ระยะความสูงระดับบนและระดับล่าง จะทำให้เกิดกลุ่มอากาศห่อหุ้มศูนย์กลาง การหมุนของพายุและทำให้อากาศบิดหมุนในลักษณะกรวยแคบๆ ตามแนวนอน ตัดผ่านพายุไปตามระหว่างชั้นของอากาศ ส่วนอากาศที่อยู่ข้างบนก็จะหมุนวนเข้าไปในพายุ เมื่อกระแทกกับกรวยอากาศหมุนเหล่านี้ ก็จะเบี่ยงเบนทิศทางส่ายขึ้นสู่เบื้องบน

              
 พายุทอร์นาโดเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน โดยแทบจะไม่มีสัญญาณเตือนอันตรายล่วงหน้า โดยปกติจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นเพียง 15 - 20 นาที แต่สร้างความเสียหายใหญ่หลวงทั้งแก่ชีวิตและทรัพย์สิน นักอุตุนิยมวิทยาในสหรัฐอเมริกาจึงให้ความสนใจในการศึกษารวบรวม ข้อมูลเพื่อ ให้สามารถระบุการเกิดพายุทอร์นาโดได้อย่างแน่นอนชัดเจน แต่ในปัจจุบันก็ยังไม่มีผู้ใดบอกได้ นอกจากอาศัยการคาดการณ์เท่านั้น นักอุตุนิยมวิยาได้ให้ข้อสังเกตว่าเกือบทุกครั้งที่จะมีพายุทอร์นาโดเกิดขึ้น มักจะมีพายุฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก ติดตามด้วย ลูกเห็บก้อนโตๆ ตกลงมา อย่างไรก็ตาม การมีลูกเห็บตกในขณะเกิดพายุ ฟ้าคะนองนั้น ก็ไม่ได้เป็นสัญญาณเตือนว่าจะต้องเกิดพายุทอร์นาโดเสมอไป แต่ที่แน่นอนก็คือเมื่อใดที่เกิดมีพายุฟ้าคะนอง และมีลูกเห็บตกลงมาด้วย นั่นคือสัญญาณที่บ่งบอกว่าพายุที่เกิดขึ้นนั้นเป็นพายุที่มีความรุนแรง








          ผลกระทบ
      ประเทศไทยได้รับผลกระทบจาก พายุหมุนเขตร้อน ที่ก่อตัวในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก และพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในบริเวณมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งเราเรียกว่า ไซโคลน แม้พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในบริเวณมหาสมุทรอินเดียจะไม่เข้าสู่ประเทศไทยโดยตรง แต่ก็สามารถก่อความเสียหายต่อประเทศไทยได้เช่นกัน เมื่อทิศการเคลื่อนที่เข้าสู่บริเวณใกล้ประเทศไทยทางด้านตะวันตก ในกรณีของพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีนใต้นั้นจะเคลื่อนที่เข้าสู่ประเทศไทยในบริเวณต่างๆ ของประเทศแตกต่างกันตามฤดูกาล
อ้างอิงถึง https://sites.google.com/site/phayufnfakh/
              http://storm5.weebly.com/364936273621365635913629365736343591362936363591.htm
              http://www.trueplookpanya.com/true/webboard_detail.php?    postid=7237&pageNo=1http://www.vcharkarn.com/varticle/42978

วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558

พายุ

พายุ 

        พายุ คือ สภาพบรรยากาศที่ถูกรบกวนแบบใด ๆ ก็ตาม โดยเฉพาะที่มีผลกระทบต่อพื้นผิวโลก และบ่งบอกถึงสภาพอากาศที่รุนแรง เวลากล่าวถึงความรุนแรงของพายุ จะมีเนื้อหาสำคัญอยู่บางประการคือ ความเร็วที่ศูนย์กลาง ซึ่งอาจสูงถึง 400 กม./ชม. ความเร็วของการเคลื่อนตัว ทิศทางการเคลื่อนตัวของพายุ และขนาดความกว้างหรือเส้นผ่าศูนย์กลางของตัวพายุ ซึ่งบอกถึงอาณาบริเวณที่จะได้รับความเสียหายว่าครอบคลุมเท่าใด ความรุนแรงของพายุจะมีหน่วยวัดความรุนแรงคล้ายหน่วยริกเตอร์ของการวัดความ รุนแรงแผ่นดินไหว มักจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

พายุเกิดจากอะไร



พายุ (Storms) เกิดขึ้นเมื่อเกิดศูนย์กลางของแรงดันอากาศต่ำ พร้อม ๆ กับมีแรงดันอากาศสูงเกิดขึ้นรอบ ๆ การรวมของแรงปะทะต่าง ๆ ก่อให้เกิดลม อันส่งผลให้เกิด การเคลื่อนตัวเปลี่ยนรูปของพายุเมฆ เช่น สภาพที่เรียกว่า cumulonimbus ซึ่งเป็นในรูปแบบก้อนเมฆดำทะมึนหนาทึบอันเต็มไปด้วยประจุไฟฟ้าที่ก่อให้เกิด ฝนฟ้าคะนอง
ซึ่งแรงดันอากาศต่ำอาจเกิดจากจุดเล็ก ๆ ที่พื้นที่ใด ๆ อันเกิดจากอากาศร้อนลอยล่องขึ้นจากพื้นดิน ส่งผลให้เกิดการปั่นป่วนน้อย ๆ เช่น การเกิดพายุฝุ่น (dust devils) หรือลมหมุน (whirlwinds)

ประเภทของพายุ

พายุแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท คือ
  1. พายุฝนฟ้าคะนอง มีลักษณะเป็นลมพัดย้อนไปมา หรือพัดเคลื่อนตัวไปในทิศทางเดียวกัน อาจเกิดจากพายุที่อ่อนตัวและลดความรุนแรงของลมลง หรือเกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำ ร่องความกดอากาศต่ำ อาจไม่มีทิศทางที่แน่นอน หากสภาพการณ์แวดล้อมต่าง ๆ ของการเกิดฝนเหมาะสม ก็จะเกิดฝนตก มีลมพัด
  2. พายุหมุนเขตร้อนต่าง ๆ เช่น เฮอร์ริเคน ไต้ฝุ่น และไซโคลน ซึ่งล้วนเป็นพายุหมุนขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน และจะเกิดขึ้นหรือเริ่มต้นก่อตัวในทะเล หากเกิดเหนือเส้นศูนย์สูตร จะมีทิศทางการหมุนทวนเข็มนาฬิกา และหากเกิดใต้เส้นศูนย์สูตรจะหมุนตามเข็มนาฬิกา โดยมีชื่อต่างกันตามสถานที่เกิด กล่าวคือ
    1. พายุเฮอร์ริเคน (hurricane) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดบริเวณทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก เช่น บริเวณฟลอริดา สหรัฐอเมริกา อ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน เป็นต้น รวมทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณชายฝั่งประเทศเม็กซิโก
    2. พายุไต้ฝุ่น (typhoon) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ เช่น บริเวณทะเลจีนใต้ อ่าวไทย อ่าวตังเกี๋ย ประเทศญี่ปุ่น
    3. พายุไซโคลน (cyclone) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดในมหาสมุทรอินเดียเหนือ เช่น บริเวณอ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ เป็นต้น แต่ถ้าพายุนี้เกิดบริเวณทะเลติมอร์และทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ออสเตรเลีย จะเรียกว่า พายุวิลลี-วิลลี (willy-willy)
    4. พายุโซนร้อน (tropical storm) เกิดขึ้นเมื่อพายุเขตร้อนขนาดใหญ่อ่อนกำลังลง ขณะเคลื่อนตัวในทะเล และความเร็วที่จุดศูนย์กลางลดลงเมื่อเคลื่อนเข้าหาฝั่ง
    5. พายุดีเปรสชัน (depression) เกิดขึ้นเมื่อความเร็วลดลงจากพายุโซนร้อน ซึ่งก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองธรรมดาหรือฝนตกหนัก
  3. พายุทอร์นาโด (tornado) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดในทวีปอเมริกา มีขนาดเนื้อที่เล็กหรือเส้นผ่าศูนย์กลางน้อย แต่หมุนด้วยความเร็วสูง หรือความเร็วที่จุดศูนย์กลางสูงมากกว่าพายุหมุนอื่น ๆ ก่อความเสียหายได้รุนแรงในบริเวณที่พัดผ่าน เกิดได้ทั้งบนบก และในทะเล หากเกิดในทะเล จะเรียกว่า นาคเล่นน้ำ (water spout) บางครั้งอาจเกิดจากกลุ่มเมฆบนท้องฟ้า แต่หมุนตัวยื่นลงมาจากท้องฟ้าไม่ถึงพื้นดิน มีรูปร่างเหมือนงวงช้าง จึงเรียกกันว่า ลมงวง

ลมสลาตัน
 เป็นชื่อภาษาไทยใช้เรียกลมแรงหรือพายุช่วงปลายฤดูฝนที่พัดจากทิศตะวันตก เฉียงใต้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย นอกจากนี้ยังใช้เรียกพายุทั่วไปที่มีความรุนแรงทุกชนิด รวมทั้งพายุต่างๆ ข้างต้นที่มีความรุนแรงข้างต้น

การเตรียมการป้องกันอันตรายจากพายุ

  1. ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาสม่ำเสมอ
  2. สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้ายแก่กรมอุตุนิยมวิทยา
  3. ซ่อมแซม อาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
  4. ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำเป็น
  5. เตรียมเครื่องอุปโภค บริโภค ไฟฉาย แบตเตอรี่ วิทยุกระเป๋าหิ้วติดตามข่าวสาร
  6. เตรียมพร้อมอพยพเมื่อได้รับแจ้งให้อพยพ
อ้างอิงถึง  http://teen.mthai.com/variety/64736.html