พายุฝนฟ้าคะนอง
พายุฝนฟ้าคะนอง หมายถึง อากาศที่มีฝนตกหนัก มีฟ้าแลบฟ้าร้อง เป็นฝนที่เกิดจากการพาความร้อน มีลมพัดแรง เกิดอย่างกระทันหันและยุติลงทันทีทันใด พายุฝนฟ้าคะนองเกิดจากการที่อากาศได้รับความร้อนและลอยตัวสูงขึ้นและมีไอน้ำในปริมาณมากพอ ประกอบกับการลดลงของอุณหภูมิ จึงเกิดการกลั่นตัวควบแน่นของไอน้ำ และเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง พายุฝนฟ้าคะนองประกอบด้วยเซลล์อากาศจำนวนมาก ในแต่ละเซลล์จะมีอากาศไหลขึ้นและลงหมุนเวียนกัน พายุฝนฟ้าคะนองเกิดมากในเขตร้อน เนื่องจากอากาศชื้นมากและมีอุณหภูมิสูง ทำให้มีสภาวะอากาศไม่ทรงตัว พายุฝนฟ้าคะนองมักเกิดจากเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) อย่างไรก็ตามการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองดังกล่าวหากมีศูนย์กลางพายุหลายศูนย์กลางจะทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองยาวนานมาก และเกิดกระแสอากาศที่รุนแรงมากจนสามารถทำให้เกิดลูกเห็บได้ ช่วงเวลาของการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง พายุฝนฟ้าคะนองพายุฝนฟ้าคะนองมีหลายชนิด ได้แก่ พายุฝนฟ้าคะนองพาความร้อน (Convectional Thunderstorm) เป็นพายุฝนที่เกิดจากการพาความร้อน ซึ่งมวลอากาศอุ่นลอยตัวสูงขึ้นทำ ให้อุณหภูมิของอากาศเย็นลง ไอน้ำจะกลั่นตัวกลายเป็นเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) และเกิดเป็นพายุฝนฟ้าคะนอง มักเกิดเนื่องจากโลกได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ ทำให้พื้นดินร้อนขึ้นมาก อากาศบริเวณพื้นดินจะลอยสูงขึ้นเกิดเป็นเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) มักเกิดในช่วงบ่ายและเย็นในวันที่อากาศร้อนจัด พายุฝนฟ้าคะนองภูเขา (Orographic Thunderstorm) เกิดจากการที่มวลอากาศอุ่นเคลื่อนที่ไปปะทะกับภูเขา ขณะที่มวลอากาศ เคลื่อนที่ไปตามลาดเขาอากาศจะเย็นตัวลง ไอน้ำกลั่นตัวกลายเป็นเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) ทำให้เกิดลักษณะของฝนปะทะหน้าเขา พายุลักษณะนี้จะเกิดบริเวณต้นลมของภูเขา เมฆจะก่อตัวในแนวตั้งสูงมาก ทำให้ลักษณะอากาศแปรปรวนมาก พายุฝนฟ้าคะนองแนวปะทะ (Frontal Thunderstorm) เกิดจากการปะทะกันของมวลอากาศ มักเกิดจากการปะทะของมวลอากาศ เย็นมากกว่ามวลอากาศอุ่น มวลอากาศอุ่นจะถูกดันให้ยกตัวลอยสูงขึ้น ไอน้ำกลั่นตัวกลายเป็นเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) และเกิดเป็นพายุฝนฟ้าคะนองแนวปะทะ
พายุฝนฟ้าคะนอง (Thunderstorm) เกิดจากเมฆที่ก่อตัวขึ้นในแนวดิ่งขนาดใหญ่ที่เรียกว่า เมมคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดสภาพอากาศรุนแรง เช่น ลมกระโชก ฟ้าแลบ และฟ้าผ่า ฝนตกหนัก อากาศปั่นป่วนรุนแรงทำให้มีลูกเห็บตก และอาจเกิดน้ำแข็งเกาะจับเครื่องบินที่บินอยู่ในระดับสูง การเกิดพายุฝนฟ้าคะนองมีลำดับ 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นก่อตัว ขั้นเจริญเต็มที่ และขั้นสลายตัว ดังที่แสดงในภาพที่ 1
การเกิดพายุฝนฟ้าคะนองในแต่ละครั้ง จะกินเวลานานประมาณ 2 - 4 ชั่วโมง ซึ่งพอจะลำดับเหตุการณ์ได้ดังนี้
พายุหมุนเขตร้อน
พายุหมุนเขตร้อน , พายุหมุน หรือพายุไซโคลน เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่สามารถทำความเสียหายได้รุนแรง และเป็นบริเวณกว้างมีลักษณะเด่น คือ มีศูนย์กลางหรือที่เรียกว่า ตาพายุ เป็นบริเวณที่มีลมสงบ อากาศโปร่งใส โดยอาจมีเมฆและฝนบ้างเล็กน้อยล้อมรอบด้วยพื้นที่บริเวณกว้างรัศมีหลายร้อยกิโลเมตร ซึ่งปรากฏฝนตกหนักและพายุลมแรง ลมแรงพัดเวียนเข้าหาศูนย์กลาง ดังนั้น ในบริเวณที่พายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนที่ผ่าน ครั้งแรกจะปรากฏลักษณะอากาศโปร่งใส เมื่อด้านหน้าของพายุหมุนเขตร้อนมาถึงจะ ปรากฏลมแรง ฝนตกหนักและมีพายุฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและอาจปรากฏพายุทอร์นาโด ในขณะตาพายุมาถึง อากาศจะโปร่งใสอีกครั้ง และเมื่อด้านหลังของพายุหมุนมาถึงอากาศจะเลวร้ายลงอีกครั้งและรุนแรงกว่าครั้งแรก
2.1 พายุเฮอริเคนสาเหตุการเกิดพายุเฮอริเคน
ลมที่มีกำลังแรงจัดและการหมุนรอบตัวเองรอบแกนของโลก ทำให้เมฆฝนคล้ายกับล้อรถเมื่อลมมีความเร็วถึง 74 ไมล์ต่อชั่วโมง ก็กลายเป็นเฮอริเคน ทำให้เมืองที่อยู่ ตามชายฝั่ง เช่น นิวออลีนส์ ถูกโจมตีจนเกิดน้ำท่วม พายุเฮอริเคนจะหมุนทวนเข็มนาฬิกา และขณะที่มันหมุนจะดูดรับความชื้นในทะเล และ ไอน้ำเข้าไปเป็น ปริมาณถึง 200,000 ตัน พายุเข้าโจมตีภาคพื้นทวีปด้วยความเร็ว 12 ไมล์ต่อชั่วโมง ถ้ามันขึ้นมาถึงบริเวณที่เป็นน้ำตื้นจะเกิดเป็นคลื่น ลูกใหญ่ขนาดมหึมาเข้าโจมตีชายฝั่ง เมื่อพายุเฮอริเคนมาเจอกับความชื้นและอากาศอุ่นของทะเลพายุจะอ่อนกำลังลง และ สิ้นฤทธิ์ภายใน 2-3 วัน |
พายุทอร์นาโด (tornado) หรือ ลมงวง เป็นพายุหมุนที่มีอำนาจในการทำลายล้างอย่างรุนแรงที่สุดในจำพวกปรากฏการณ์ธรรมชาติประเภทพายุ เกิดจากการหมุนเวียนของอากาศภายใต้ฐานเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) หรือเมฆฟ้าคะนอง ซึ่งมีรูปลักษณะคล้ายภูเขา และเป็นเมฆที่แสดงถึงสภาวะอากาศที่ไม่ดีทำให้เกิดฝนฟ้าคะนองก่อนเกิดพายุทอร์นาโด ฐานเมฆดังกล่าวจะย้อยตัวลงมาจนแลดูคล้ายงวงหรือรูปกรวย (funnel cloud) และเคลื่อนไหวในลักษณะเป็นวงที่บิดเป็นเกลียว มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 200 - 300 หลา ความเร็วลมที่ศูนย์กลางประมาณ 100 - 300 ไมล์ต่อชั่วโมง พายุหมุนนี้จะเคลื่อนที่ไปในทางเดียวกับเมฆเบื้องบน โดยมีความเร็วประมาณ 20 - 40 ไมล์ต่อชั่วโมง
![]()
ผลกระทบ
ประเทศไทยได้รับผลกระทบจาก พายุหมุนเขตร้อน ที่ก่อตัวในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก และพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในบริเวณมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งเราเรียกว่า ไซโคลน แม้พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในบริเวณมหาสมุทรอินเดียจะไม่เข้าสู่ประเทศไทยโดยตรง แต่ก็สามารถก่อความเสียหายต่อประเทศไทยได้เช่นกัน เมื่อทิศการเคลื่อนที่เข้าสู่บริเวณใกล้ประเทศไทยทางด้านตะวันตก ในกรณีของพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีนใต้นั้นจะเคลื่อนที่เข้าสู่ประเทศไทยในบริเวณต่างๆ ของประเทศแตกต่างกันตามฤดูกาล
http://storm5.weebly.com/364936273621365635913629365736343591362936363591.htm
http://www.trueplookpanya.com/true/webboard_detail.php? postid=7237&pageNo=1http://www.vcharkarn.com/varticle/42978 |
สหรัฐอเมริกานั้น ในปีหนึ่งๆ จะเกิดพายุทอร์นาโด โดยเฉลี่ยถึง 770 ครั้ง และมักจะเกิดในบริเวณที่ราบเท็กซัส แพนแฮนเดิล เฉียงขึ้นไปทางตอนเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐโอกลาโฮมา แคนซัส มิสซูรี เนบราสกา ทางตอนใต้ของรัฐอิลลินอยส์ และสิ้นสุดทางตอนเหนือของรัฐไอโอว่า บริเวณดังกล่าวจะเกิดพายุหมุนทอร์นาโด ขึ้นประจำในระหว่างเดือนมีนาคม - มิถุนายน จนได้ชื่อว่าเป็น "ช่องทางทอร์นาโด" (Tornado Alley)
สาเหตุการเกิดพายุทอร์นาโด
การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ
การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศชั้นบน อันเป็นสาเหตุให้เกิด พายุทอร์นาโดนั้น เนื่องมาจาก

1. การควบแน่นของไอน้ำจากอากาศเบื้องล่าง ทำให้อากาศที่ลอยตัวอยู่อุ่นขึ้น เมื่อกระทบกับอากาศเย็นข้างบน ก็จะเกิดเมฆ และมีความชื้นเพิ่มขึ้น อากาศร้อนเบื้องล่างจึงหนุนเนื่องดันทะลุชั้นอากาศเย็นข้างบนออกไปโดยฉับพลัน
2. การคายความร้อนของพื้นดิน เมื่อพื้นดินคายความร้อนที่ ได้รับจากแสงอาทิตย์มาตลอดทั้งวัน อากาศร้อนชื้นเบื้องล่างจะดูดซับ ความร้อนนั้น ทำให้มีแรงดันเพิ่มขึ้นฝ่าอากาศเย็นชั้นบนขึ้นไปได้ พายุหมุนทอร์นาโดประเภทนี้ มักเกิดในช่วงเวลา 6 โมงเย็น จึงเรียกว่าอาถรรพณ์ 6 โมงเย็น (six o’clock magic)
3. การเปลี่ยนแปลงของความเร็วลมในทิศทางและที่ระยะความสูงต่างๆ (windshear) ความแตกต่างของความเร็วลม และทิศทางที่ระยะความสูงระดับบนและระดับล่าง จะทำให้เกิดกลุ่มอากาศห่อหุ้มศูนย์กลาง การหมุนของพายุและทำให้อากาศบิดหมุนในลักษณะกรวยแคบๆ ตามแนวนอน ตัดผ่านพายุไปตามระหว่างชั้นของอากาศ ส่วนอากาศที่อยู่ข้างบนก็จะหมุนวนเข้าไปในพายุ เมื่อกระแทกกับกรวยอากาศหมุนเหล่านี้ ก็จะเบี่ยงเบนทิศทางส่ายขึ้นสู่เบื้องบน
พายุทอร์นาโดเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน โดยแทบจะไม่มีสัญญาณเตือนอันตรายล่วงหน้า โดยปกติจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นเพียง 15 - 20 นาที แต่สร้างความเสียหายใหญ่หลวงทั้งแก่ชีวิตและทรัพย์สิน นักอุตุนิยมวิทยาในสหรัฐอเมริกาจึงให้ความสนใจในการศึกษารวบรวม ข้อมูลเพื่อ ให้สามารถระบุการเกิดพายุทอร์นาโดได้อย่างแน่นอนชัดเจน แต่ในปัจจุบันก็ยังไม่มีผู้ใดบอกได้ นอกจากอาศัยการคาดการณ์เท่านั้น นักอุตุนิยมวิยาได้ให้ข้อสังเกตว่าเกือบทุกครั้งที่จะมีพายุทอร์นาโดเกิดขึ้น มักจะมีพายุฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก ติดตามด้วย ลูกเห็บก้อนโตๆ ตกลงมา อย่างไรก็ตาม การมีลูกเห็บตกในขณะเกิดพายุ ฟ้าคะนองนั้น ก็ไม่ได้เป็นสัญญาณเตือนว่าจะต้องเกิดพายุทอร์นาโดเสมอไป แต่ที่แน่นอนก็คือเมื่อใดที่เกิดมีพายุฟ้าคะนอง และมีลูกเห็บตกลงมาด้วย นั่นคือสัญญาณที่บ่งบอกว่าพายุที่เกิดขึ้นนั้นเป็นพายุที่มีความรุนแรง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น